pin poramet's blog

Enjoy the world of bloggers !!!

Friday, September 23, 2005

back to BLOG (BLOG)




ได้เห็นนายนิติรัฐหวนคืนสู่ยุทธจักรในฐานะ blogger บ้าพลังอีกครั้ง เลยนึกคันไม้คันมือ ขอออกจากถ้ำ แว่บมาบอกเล่าเก้าสิบทักทายเพื่อนฝูงกับเขาบ้าง หลังจากหายหน้าหายตาไปนานแสนนาน

จริงๆ แล้วที่แทบไม่ได้อัพ blog เลย ไม่ใช่เพราะมีงานเยอะหนักหนาเหมือนอย่างนายนิติรัฐเขาหรอก แต่มันเบื่อๆ เซ็งๆ งงๆ กับชีวิตและความคิดหลายเรื่อง ทั้งเรื่องใกล้ตัว และเรื่องไกลตัว ผมกำลังครุ่นคิดทบทวนอะไรต่อมิอะไรหลายอย่างในหัว เลยไม่ค่อยมีอารมณ์อยากจะเขียนอะไรเท่าไหร่ ว่าไปชีวิตและความคิดของผมค่อนข้างนิ่งและอยู่ตัวมานาน ไม่ได้ออกแรงในหัวอย่างนี้หลายปีแล้ว คงต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่กว่าจะเข้าสู่ดุลยภาพอีกครั้ง (ว่าแต่มันมีจริงหรือ ไอ้ดุลยภาพเนี่ย ?)

คิดไปคิดมา อาจจะได้เกิดใหม่อย่างผู้คนใน bloggang กับเขาบ้าง ฮิฮิ

นั่นก็เหตุผลหนึ่ง อีกเหตุผลหนึ่งคือ อยู่เมืองไทยแล้วกิจกรรมมันเยอะ พบเจอคนโน้นคนนี้ไม่ได้ขาด มีภารกิจจุกจิกให้ทำตลอด เวลาในการอ่านและเขียนก็ลดลง เมื่อเทียบกับอยู่บ้านนอก เมื่ออ่านน้อย คิดน้อย มีเวลาว่างน้อย ก็เขียนได้น้อยลง เป็นเรื่องปกติธรรมดา นึกแล้วก็ทึ่งคุณ Fringer ที่ช่างอ่าน ช่างเขียน แรงดีไม่มีตก ทั้งที่ภารกิจการงานก็(เดาว่าคง)หนักหนาสาหัส ใครยังไม่เคยลองอ่านความคิดของคุณ Fringer แวะไปเยี่ยมชมได้เลยครับ รับประกันว่าได้หอบอาหารสมองกลับบ้านแบบไม่ผิดหวัง เข้มข้นจริงๆ ผมทึ่งมากนะครับ

ช่วงสมาชิก bloggers กลับบ้านเรา ชุมชนแถวนี้ก็เงียบเหงาไปถนัดใจ ยังดีที่มี blogger จอมขยัน นอกจากคุณ Fringer แล้ว ก็มี Kickoman ซึ่งตอนนี้มีแฟนประจำเต็มไปหมด และผมยังไปเจอ blog ที่น่าสนใจในโลกไซเบอร์สเปซ ซึ่งผมก็ไม่ได้รู้จักเจ้าของ blog เหล่านั้นเป็นการส่วนตัว แต่อ่านแล้วชอบ เลยแอบมาทำลิงก์ไว้ ทั้ง BioLawCom, Nattawut และ Saranont เป็นต้น

จริงๆ ช่วงสองเดือนที่ผ่านมา มี blog ใหม่ๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้นอีกหลายอัน เป็นเพื่อนผมบ้าง เป็นเพื่อนของเพื่อนผมบ้าง ก็ลองเข้าไปเยี่ยมลิงก์ใหม่ๆ ดูนะครับ หลากหลายน่าสนใจทีเดียว

blogger ขี้เกียจอย่างผม เลยแปลงร่างมาเป็นนักอ่าน blog เสียเป็นส่วนใหญ่ แค่อ่านก็เวลาหมดแล้ว

จริงๆ ผมคันไม้คันมืออยากกลับมาเขียนนานแล้ว ติดอยู่ที่มีภารกิจต้องทำหนังสือสองเล่มให้เรียบร้อยก่อนงานมหกรรมหนังสือฯ ใช้เวลาพอสมควรทีเดียวกับหนังสือสองเล่มนี้ เพิ่งเสร็จเรียบร้อยส่งเข้าโรงพิมพ์ไปวันนี้เอง

เล่มแรกเป็นงานเขียนของ อ.วรากรณ์ สามโกเศศ เล่ม 4 ในชุด Edutainment Essays เล่มนี้ผมเป็นบรรณาธิการ ใครเคยอ่านคงจำปกสีสันแสบตาของสามเล่มแรกได้บาดใจ สามเล่มแรกชื่อ First, Best และ Different เล่มล่าสุดที่กำลังจะออกชื่อ Niche

เล่มที่สองเป็นงานเขียนเล่มใหม่ของผมเอง เป็นข้อเขียนที่รวบรวมจาก blog pin poramet นี่แหล่ะ ตั้งแต่เดือนมีนาคม - มิถุนายน 2548 ชื่อ BLOG BLOG ผมโพสต์หน้าปกให้ดูกัน แต่ของจริงสีสดกว่านี้นะครับ แปลงไฟลปกแล้วสีมันเพี้ยนพอสมควร ผมพยายามเก็บบรรยากาศถกเถียงกันใน blog ให้อยู่ในรูปหนังสือ ทำได้หรือไม่ ดีแค่ไหน ก็ลองพิสูจน์กันเอง

ทั้งสองเล่มน่าจะวางขายทันในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ 6-16 ตุลาคม 2548 ที่ศูนย์สิริกิติ์ ปีนี้บูธ openbooks อยู่บริเวณเวทีเอเทรี่ยมนะครับ

นอกจากหนังสือสองเล่มที่ผมมีส่วนร่วมแล้ว ปีนี้ openbooks ยังมีหนังสือใหม่ๆ ที่น่าสนใจอีกหลายเล่ม ตั้งแต่ รวมบทสัมภาษณ์ 20 ปี สารคดี ชุดที่ 2 ของคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ซึ่งมีด้วยกันสามเล่ม ชื่อ H I P (Healthy, Independent, Persons), open dragon (Journal ว่าด้วยเอเชียตะวันออก) เล่มสาม, October เล่ม 5 (ฉบับพระราชอำนาจ-ไฟใต้), "ภูมิปัญญามูซาชิ" ของ อ.สุวินัย ภรณวลัย (ในวาระครบรอบ 10 ปี มูซาชิฉบับท่าพระจันทร์), "Thaksinomics ภายใต้ทักษิณาธิปไตย" ของ อ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ฯลฯ

ส่วนสำนักพิมพ์ระหว่างบรรทัดของพี่แป๊ด เพื่อนร่วมชุมชนของเรา ภูมิใจเสนอ "โลกนี้มันช่างยีสต์" ผลงานเขียนเล่มแรกของ แทนไท ประเสริฐกุล เป็นงานเขียนยีสต์ๆ ยวนๆ ที่รวบรวมจาก Yeebud Diary ไดอารี่ออนไลน์สุดโปรดของใครหลายคนแถวนี้

เล่มนี้ห้ามพลาดเชียวนะครับ



ขอทิ้งท้ายด้วยคำนิยมที่ผมเขียนให้แทนไทแล้วกัน ชวนเชื่อกันเห็นๆ ก่อนจาก

"... ไม่ง่ายที่ใครคนหนึ่งจะสร้าง ‘ทาง’ แปลกใหม่เฉพาะตัวได้ ขณะที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้เงาร่มไม้ใหญ่ยักษ์ถึงสองต้น และต้องแบกรับความคาดหวังอีกเป็นพะเรอเกวียน แต่แทนไททำได้อย่างหมดจดงดงาม ทั้ง ‘ทาง’ ชีวิต และ ‘ทาง’ วรรณกรรม

... ไม่ง่ายที่ใครคนหนึ่งจะสร้าง ‘ทาง’ วรรณกรรม ที่มีทั้งความยีสต์ ความยวน และลีลาโฉบเฉี่ยวเปี่ยมเสน่ห์ แต่ไม่พร่องความช่างคิด คำถามเฉียบคม ปรัชญา และอุดมการณ์ แต่แทนไทก็ทำได้ ได้ทำแล้ว และ(หวังว่า)จะทำต่อไป

เชิญทุกท่านหัวเราะไปพลาง ครุ่นคิดไปพลาง กับ ‘โลกนี้มันช่างยีสต์
ของเขาเถิด แล้วจะบังเกิดความเข้าใจว่า ประสบการณ์แปลกใหม่ที่หาไม่ได้จากหนังสือเล่มใดในโลกเป็นอย่างไร ..."

Saturday, September 10, 2005

บทความโดยธงชัย วินิจจะกูล

Same Old Royalism Hatches Again

Thongchai Winichakul

Madison, Wisconsin.

_______________________________

หมายเหตุ :

บทความชิ้นนี้เขียนให้แก่ น.ส.พ. The Nation แต่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ด้วยเหตุผลว่า แรงเกินไป (too strong) โดยอธิบายว่า หนังสือพิมพ์มีข้อจำกัดมากมายรวมทั้งจากกฎหมายหมิ่นฯ

เริ่มแรกนั้น ผู้เขียนเขียนจดหมายวิพากษ์วิจารณ์ข้อเขียนใน The Nation ฉบับวันที่ 5 September 2005เกี่ยวกับหนังสือ พระราชอำนาจ ของประมวล รุจนเสรี แต่จดหมายดังกล่าวไม่ได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนเข้าใจ (ผิด)ว่า The Nation ไม่อยากตีพิมพ์ข้อเขียนซึ่งผู้เขียนเองนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะในที่อื่นแล้ว (หมายถึง webboard ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน # 07472)

ดังนั้น เมื่อได้รับคำแนะนำว่า น่าจะเขียนเป็นบทความเต็มฉบับแสดงความเห็นให้กระจ่างขึ้นให้แก่ The Nation บทความชิ้นนี้จึงเกิดขึ้น แต่ปรากฏว่า ไม่ได้รับการตีพิมพ์อยู่ดีด้วยเหตุผลข้างต้น ผู้เขียนจึงขออนุญาตมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเผยแพร่บทความชิ้นนี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเห็นว่าเป็นการแสดงความเห็นอย่างสุจริตใจ มีเหตุผลข้อมูลน่าสนใจ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน โดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความเห็นใดๆในบทความ จึงยินดีเผยแพร่บทความภาษาอังกฤษ ณ ที่นี้เป็นแห่งแรก

ผู้เขียนกำลังตรวจแก้และปรับปรุงเพิ่มเติมฉบับภาษาไทยเพื่อเผยแพร่ต่อไป(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 664เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๔๘ (บทความทั้งหมดยาวประมาณ 2.5 หน้ากระดาษ A4)

------------------------------------

Same Old Royalism Hatches Again

The fad about Pramuan Rujanaseri's book, The Royal Power, baffles me. It is an overly rhetorical book that happens to come out at the right timing, namely when the public get fed up with the Prime Minister's enormous power and his arrogance.

Among the haphazard thinking and poor argumentation, perhaps one example is enough. "The fact is that His Majesty will endorse every constitution before it can be implemented. His power apparently overwhelms what's stated in the charters." This is a quoted from the article in The Nation, Sept 5, but Pramuan himself is apparently very proud of this argument too.

This is pervert logic. Is a US president above the law since he signs it into law? Does having the authority to veto a law mean he is above the law? NO and NO. How many orders and regulations Pramuan himself signed at the Ministry of Interior? Was he above those regulations? (Perhaps he was.)

It is irresponsible to mislead the public by logical tricks, especially as those tricks lead to the suggestion that the king is above the constitution.
Pramuan's book is nothing but a popularization of the ideas held among the royalists after 1932 who had tried several times to revive the power of the monarch. The fierce struggle over this issue led to the Boworadet Rebellion in 1933 - a civil war of sort that cost dozens of lives, and the abdication of King Prachadhipok (Rama VII) in 1935 after he lost the political fight to have more power under the constitution.

The royalists were subdued during the first Phibun regime (1938-44). After WWII, it was Pridi Phanomyong who allowed the royals to participate in politics (except the immediate family members of the monarch) and returned all the titles and privileges to the royals, including the chief of them, Prince Rangsit or Kromkhun Chainat Narendhorn, who was the last surviving son of King Chulalongkorn and who had been a leader of the royalists.

Pridi's compromise was the result of domestic politics during WWII when many royalists were among the backbone of the Free Thai movement against Phibun. What Pridi didn't anticipate was that the royalists began to plot revenge against him almost immediately, and to revive the king's power - not to the pre-1932 absolute monarchism but along the line that King Rama VII (ditto: the royalists) wanted. The wrongful accusation that Pridi had something to do with the assassination of King Ananda in June 1946 was the dirty work of these people. Pridi suffered tremendously from 1946 to the end of his life at the hand of these royalists in cooperation with the army.

The 1947 coup finished Pridi, even though he tried to come back a few years later. It ended the People's Party's era. Historians usually pay attention to the role of the new generation of the army leaders, such as Phin Choonhavan and Phao Sriyanond. The fact is that the hand prints of the royalists were everywhere in this coup and a few years after, belonging to people from the high princes to the energetic Pridi hunters like the Pramoj brothers, and more.

In March 1946, Prince Dhaninivat (Kromamun Phitthayalap Phrutthayakorn) delivered a historic presentation to the special audience that included the young King Anand, his mother and his brother (the present king). Prince Dhani played an important role in the Privy Council during Rama VII that blocked the king's efforts to "reform" Thai politics. He was a brilliant scholar who after the royalist set back during the first Phibun, spent time on scholarly works. He was among the kings' teachers who quietly groomed the young monarchs from the late 1940s to the 1950s, and also became the President of the Privy Council after Prince Rangsit died in 1951.

Prince Dhani's presentation, "The Old Siamese Conception of the Monarchy", was a short but truly original work of scholarship. It laid the intellectual foundation for the royalist discourse to enhance the royal power in the post-1932 era, and the discourse originated by this article is the framework for the development of the monarchical institution in the past 60 years. (Historians who only see the rise of the monarchy from Sarit's era will find both Sarit's ideology and the king's activities the offshoots of the discourse begun by Prince Dhani. So was Kukrit Pramoj's idea on the monarchy)

ALL the major points in Pramuan's book are merely derivatives of this Dhani's work (via the exegesis by Thongthong Jantharangsu's thesis in 1986). Pramuan only adds his own non-sense argumentation in the up-to-date rhetoric and in timely politics. Nothing more, really.

Pramuan's contribution to this royalist theory of the royal power is to popularize it for consumption by anybody who lacks historical perspective, have short memory, or who want to appear more royalist than the royals themselves. Those people, including famous journalists, are doing a great service to the royalist efforts in trying to make the de facto royal power into de jure.

If concerned citizens of the present generation, like those at the Manager or at this newspaper, are fascinated and convinced by Pramuan's ideas, it reflects how superficial and uncritical they are and how poor their historical knowledge is. For the royalists, their responses to Pramuan's book are predictable. What else we expect them to say, except not saying at all.

Before going crazy with Pramuan's book, we should study how horribly Pridi Phanomyong had suffered at the hands of the royalists especially during 1946-49. The great irony is that some of the advocates for enhancing the royal power tell the story of Pridi working hand in hand with the royals for the enhanced royal power. "Ridiculous" would be my softest comment on these royalist pretenders.

Sorry, I am not Thaksin's supporter. I have written and talked in many places against the current government, especially its hopeless handling of the crisis in the Deep South. But an effort to undermine the government by reviving the old royalism is very dangerous and must be countered. It is easy to see short term benefits for Pramuan, and probably for those journalist critics of Thaksin too. But this kind of short term tactic is extremely short-sighted and very dangerous, unless all of them truly want the royalist regime of democracy in Thailand.

By the way, you write, "more than 1,000 years of absolute monarchy in Thailand". Can you tell me from when to when -- since Thailand was a Happy Valley kingdom at the Altai Mountain in Mongolia when the Thai kings ruled over the whole Asia? With such a statement in your highly educated newspaper, I am not surprised that Pramuan's book is a fad among Thais. As a historian, I plead guilty for failure to make people intelligent about history. The absolute monarchy in Siam lasted less than 60 years -- around the 1870s to 1932 only. Your statement makes the royalist ideas Paleolithic indeed.


Thongchai Winichakul Madison, Wisconsin

Thursday, September 01, 2005

คำกล่าวตอบรับรางวัลแมกไซไซของจอน อึ๊งภากรณ์

คำกล่าวตอบรับรางวัล

นายจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐ ปี ๒๕๔๘

วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๘ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศฟิลิปปินส์ เมืองมะนิลา

......

ท่านประธานศาลฏีกา คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลรามอนแมกไซไซ เพื่อนผู้รับรางวัล และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน

ย้อนกลับไปในวันนี้เมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว ในคำกล่าวตอบรับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ คุณพ่อของผม ได้เอ่ยถึง “ใจ” น้องชายคนเล็กของผมซึ่งขณะนั้นอายุ ๑๒ ปี และเป็นนักสะสมแสตมป์ คุณพ่อเล่าว่า ใจได้หยิบยกเอาคำพูดหนึ่งของประธานาธิบดีรามอน แมกไซไซที่ปรากฏในแสตมป์ที่ระลึกมาบอกให้คุณพ่อได้รับทราบ คำพูดนั้นกล่าวไว้ว่า “ข้าพเจ้าเชื่อว่า คนที่ได้โอกาสน้อยในชีวิต ควรได้รับโอกาสพิเศษในทางกฎหมาย”

ในวันนี้ ผมก็มีอีกเรื่องที่อยากจะเล่าเกี่ยวกับ “ใจ” ซึ่งผมเพิ่งทราบเมื่อไม่นานมานี้ นั่นคือ หลังจากที่ใจได้รับการแจ้งว่า ชื่อของผมอยู่ในกระบวนการพิจารณารางวัลนี้ ใจได้เสนอว่า มันน่าจะดีกว่าถ้าไม่ใช่ผม แต่เป็นทนายสมชาย นีละไพจิตร ที่ได้รับการเสนอชื่อแทน ในประเด็นนี้ผมเห็นด้วยกับน้องผมอย่างยิ่ง

สมชาย นีละไพจิตร เป็นประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และเป็นทนายซึ่งสละตัวเองเพื่อช่วยเหลือชาวมุสลิมทั้งหลายที่ต้องตกเป็นจำเลย ซึ่งมักเป็นคนที่“ได้โอกาสน้อยในชีวิต” เหมือนอย่างที่รามอน แมกไซไซกล่าวถึง และในวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เป็นวันที่ทนายสมชายต้องเสียสละอย่างถึงที่สุด เขาถูกลักพาตัวออกไปจากรถยนต์ของเขาในพื้นที่กรุงเทพฯ และหายสาบสูญไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่เขาได้เริ่มรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอให้ยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกในสามจังหวัดชายแดนใต้ และเพิ่งร้องเรียนต่อกรรมาธิการหนึ่งของวุฒิสภาเพื่อขอให้สอบสวนกรณีที่ตำรวจถูกกล่าวหาว่า ข่มเหงและทรมานผู้ต้องสงสัยห้าคนซึ่งเป็นลูกความของเขาเพื่อให้สารภาพตามข้อกล่าวหา แม้ล่าสุดจะมีการจับกุมและดำเนินคดีกับตำรวจห้านายในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายสมชายโดยคดีนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล แต่ก็คงจะเป็นไปได้ยากที่ผู้บงการที่อยู่เบื้องหลังการหายตัวไปของทนายสมชายจะถูกเผยตัวออกมาในอนาคตอันใกล้นี้

น่าเสียดาย ที่มูลนิธิรามอน แมกไซไซไม่อนุญาตให้เสนอชื่อผู้ที่คาดว่าเสียชีวิตแล้วเพื่อเข้ารับการพิจารณารางวัล และด้วยเหตุดังกล่าว ผมจึงอยู่ที่นี่ และได้รับเกียรติอย่างสูงยิ่งในวันนี้ ดังนั้นในประการแรกผมจึงขออุทิศรางวัลนี้ให้แก่ทนายสมชายและครอบครัวของเขา

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของประเทศไทย ได้ให้การรับรองในเรื่องสิทธิ และเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยของบุคคลและชุมชน ไม่แพ้มาตรฐานของประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ทั่วโลก แต่แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะใช้มาแล้วเป็นเวลาแปดปี ดูเหมือนประเทศไทยยังเกิดกรณีที่เลวร้ายในด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งกรณีการสูญหายไปของทนายสมชายเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง

รัฐธรรมนูญของเรารับรองสิทธิของชุมชนที่จะมีส่วนร่วมในการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเขา และสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาความเห็นอย่างยุติธรรมในกรณีที่ชุมชนอาจได้รับผลกระทบจากโครงการใดๆ ทว่า ไม่เพียงแต่สิทธิชุมชนเหล่านี้จะถูกเพิกเฉยมาตลอด แต่ทรัพยากรทางธรรมชาติไม่ว่าที่ดิน ผืนป่า และลุ่มน้ำ ยังถูกแย่งไปจากชุมชนอีกด้วย ยิ่งกว่านั้น ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๔ มีผู้นำชุมชนอย่างน้อย ๑๕ คนจากทุกภาคของประเทศถูกลอบฆ่าตาย เพียงเพราะพวกเขาต้องการที่จะปกป้องชุมชนและต่อต้านบุคคลภายนอกที่พยายามเข้ามาแสวงผลประโยชน์แล้วทำลายสิ่งแวดล้อม ผู้นำชุมชนเหล่านี้ไม่เคยได้รับการคุ้มครองหรือแม้แต่การยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งที่ผลงานของเขาเป็นประโยชน์ทั้งต่อชุมชนและต่อสังคมโดยรวม และในแทบทุกกรณี ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารไม่เคยได้รับการลงโทษ ฉะนั้นจึงมีความสำคัญยิ่งที่ผมควรจะต้องอุทิศรางวัลนี้ให้แก่ผู้นำชุมชนที่กล้าหาญและเสียสละเหล่านั้น

นับแต่ปี ๒๕๔๗ ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น มีเหตุการณ์ฆ่ารายวันโดยผู้ก่อการร้ายกลุ่มหนึ่งที่เป็นคนในพื้นที่ แต่ในขณะเดียวกัน มีรายงานมากมายที่ชี้ว่ามีตำรวจและทหารบางส่วนที่ปฏิบัติต่อชาวมุสลิมในพื้นในลักษณะที่ขัดต่อหลักนิติธรรม โดยมีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการอุ้ม การฆ่า และการทรมาน ข่าวเหล่านี้ทำให้ประชาชนในพื้นที่จำนวนมากเกิดความไม่พอใจและไม่ไว้วางใจต่อหน่วยงานด้านความมั่นคง ยังมีเหตุการณ์ที่น่าสงสัยเกี่ยวกับการตายหมู่ของสมาชิกทีมฟุตบอล ๑๙ คนที่อำเภอสะบ้าย้อยในเดือนเมษายน ๒๕๔๗ และอีกหกเดือนต่อมายังมีกรณีของประชาชนอีก ๗๘ ชีวิตที่อยู่ในฝูงชนที่ชุมนุมที่อำเภอตากใบ และต้องเสียชีวิตไปในระหว่างที่อยู่ในการควบคุมตัวของทหาร ก็เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนขวัญอย่างยิ่ง สร้างความไม่สบายใจแก่ทุกคนที่เคารพในคุณค่าต่างๆ ที่เป็นรากฐานแห่งรัฐธรรมนูญของประเทศของเรา

ผมจึงขออุทิศรางวัลนี้ให้แก่ทุกๆ คนที่ทำงานเพื่อความสงบสุขและความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงสมาชิกทุกคนของคณะกรรมการสมาฉันท์แห่งชาติ ซึ่งมีนายอานันท์ ปันยารชุน เจ้าของรางวัลแมกไซไซเป็นประธาน

ผมยังต้องการอุทิศรางวัลนี้ให้แก่นักเคลื่อนไหวด้านประชาสังคมทุกคน ไม่ว่าจะสังกัดเอ็นจีโอหรือองค์กรภาคประชาชนที่ยังยืนหยัดทำงานภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก เพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมทางสังคมและสิทธิมนุษยชน เพื่อเสริมสร้างพลังและความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ไร้อำนาจในสังคม และเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้รวมถึงเพื่อนๆ ในเครือข่ายของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ และเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์

นอกจากนี้ผมขออุทิศรางวัลนี้ให้กับทุกคนที่ร่วมผลักดันให้เกิดเสรีภาพของสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๓๙ และ ๔๑ รวมถึงนักหนังสือพิมพ์และสื่อทั้งหลายที่ดำรงตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณทางวิชาชีพสื่อ โดยการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาและไม่หวั่นไหวจากการถูกคุกคามในทุกรูปแบบ รวมถึงอดีตเจ้าหน้าที่ข่าวของไอทีวี ผู้จัดรายการวิเคราะห์ข่าวทางวิทยุบางคน และนักหนังสือพิมพ์ส่วนหนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบจากการทำหน้าที่อย่างสุจริต และรวมถึงนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ จากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อที่ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายสูงกว่ารายได้ทั้งปีของเธอถึงพันเท่าร่วมกับหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

สุดท้าย แต่สำคัญไปไม่ยิ่งหย่อนเลย ผมอยากจะอุทิศรางวัลนี้ให้กับเพื่อนสมาชิกวุฒิสภาทุกคน ที่ได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเคร่งครัดตามคำปฏิญาณของตน ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวม และโดยยึดมั่นในหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ท้ายนี้ ผมขอแสดงความรู้สึกซาบซึ้งใจอย่างยิ่ง ที่มูลนิธิรามอน แมกไซไซ ได้ให้โอกาสผมรับรางวัลอันมีเกียรตินี้ แทนเพื่อนคนไทยจำนวนมากมายที่ได้ยืนหยัดร่วมกันเพื่อพยายามทำให้ประเทศไทยของเราเป็นสังคมที่มีความน่าอยู่มากขึ้นสำหรับประชาชนทุกๆ ส่วน